เลเวอเรจ คือ เครื่องมือทางการเงินมีความสามารถในการจ่ายเงินในสกุลเงินนั้น ๆ ด้วยจำนวนเพียงเล็กน้อยในการการเทรด Forex ก็คือการยืมเงินจากโบรกเกอร์มาบางส่วน เพื่อที่ทุกท่านจะสามารถซื้อสินทรัพย์หนึ่งๆที่อาจจะมีมูลค่ามากกว่าเงินที่ทุกท่านมีอยู่ หรือ ให้ทุกท่านมีอำนาจจัดการการซื้อขายคำสั่งขนาดใหญ่ ๆ ได้ด้วยทุนเริ่มต้นจำนวนน้อย ถ้าหากจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เลเวอเรจ คือการยืมเงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ เป็นทุนเพิ่มเติมที่ช่วยนักลงทุนทุกท่านสามารถ “เพิ่มผลลัพธ์” หรือขนาดของการลงทุนได้มากกว่าจำนวนเงินที่ท่านมีอยู่จริงๆ เมื่อทุกท่านได้กำไรก็จะได้กำไรมากกว่าปกติ แต่ การลงทุนก็สามารถทำให้เราขาดทุนในปริมาณที่มากด้วยเช่นกัน เพราะดังนี้ นักลงทุนเทรดที่ใช้ เลเวอเรจ ก็จะมีสติจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับจำนวน เลเวอเรจ ที่ทุกท่านต้องการใช้ในบัญชีซื้อขายของทุกท่านเอง และควรเข้าใจเทคนิคในการตั้ง Stop Loss ให้เป็นอย่างดี
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ลูกค้าต้องการเปิดออเดอร์หรือซื้อสิ้นค้า 3000 USD
1. ลูกค้าไม่มีเลเวอเรจเลย ลูกค้าต้องใช้เงินหลักประกัน (มาร์จิ้น) = 3000 USD เพื่อลงทุน
2. ลูกค้าใช้เลเวอเรจ 1:100 ลูกค้าต้องใช้เงินหลักประกัน (มาร์จิ้น) = 30 USD เพื่อลงทุน
3. ลูกค้าใช้เลเวอเรจ 1:1000 ลูกค้าต้องใช้เงินเลเวอเรจ (มาร์จิ้น) = 3 USD
Margin คืออะไร
มาร์จิ้น คือ หลักประกัน เงิน ‘มัดจำที่ต้องใช้ในการเปิดคำสั่งซื้อ ซึ่งเป็นหลักประกันที่โบรกเกอร์กันไว้เพื่อที่จะเปิดสถานะค้าง เงินจำนวนนี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม และไม่ได้เรียกเก็บจากบัญชีของคุณ แต่ทำหน้าที่เพื่อให้แน่ใจได้ว่าคุณมียอดเงินคงเหลือเพียงพอในบัญชีให้สัมพันธ์กับขนาดของสถานะของทุกท่านผู้เทรด เงินทุนที่ทุกท่านมีอยู่ในบัญชีซื้อขายคือเงินที่จะใช้เป็นหลักประกันเมื่อทุกท่านทำการซื้อขาย หากนักเทรดคาดหวังอยากจะได้กำไร ทุกท่านสามารถใช้อัตราส่วนเลเวอเรจ ขนาดใหญ่ขึ้น และ ใช้ มาร์จิ้น ที่น้อยลงเพื่อควบคุมขนาดการซื้อขายที่ใหญ่
โดยรวมทั้งหมดที่กล่าวมา ทั้ง Leverage (เลเวอเรจ) และ Margin (มาร์จิ้น) นั้นต่างมีความสำคัญทั้งคู่ โดย มาร์จิ้น จะช่วยปกป้องยอดเงินคงเหลือในบัญชีของทุกท่านไม่ให้เป็นศูนย์ และ เลเวอเรจ จะช่วยให้ทุกท่านมีอำนาจการตัดสินใจในการซื้อขายที่มากขึ้น
ดูเพิ่มเติมสำหรับ คำศัพท์ Forex ที่เทรดเดอร์ต้องรู้
รวบรวม คำศัพท์ Forex ที่เทรดเดอร์ต้องรู้ <<<<<<คลิก
Bitcoin Cryptocurrency ทำ