Categories
Technical Analysis การลงทุน

แนวรับ แนวต้าน

แนวรับ แนวต้าน

แนวรับ แนวต้าน หากจะให้พูดถึง กันอย่างละเอียดแล้วเราต้องมาพูด ถึง พฤติกรรม การเทรดกันสักหน่อย หรือ จะเรียกว่า จิตวิทยาการเทรดกันเลยก็ว่าได้ อย่างที่ทราบกันดีว่า ราคาตลาดมีการขยับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา และมันไม่ได้เคลื่อนไหวได้เองจากระบบ คอมพิวเตอร์ แต่อย่างใด แต่มันขึ้นจากแรงกระทำจากการซื้อขายของนักลงทุนนี่เอง และมันเกี่ยวอะไรกับแนวรับแนวต้านอย่างนั้นเหรอ เพราะ นักเทรด หรือนักลงทุน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับมันและยอมรับมันในสิ่งที่เรียกว่าแนวรับแนวต้าน ซึ่งเป็นจุดที่จะทำให้ นักเทรด หรือ นักลงทุน ตัดสินใจซื้อหรือขาย ที่บริเวณกล่าว เกิดการต่อสู้กัน ระหว่าง นักเทรด ที่มีมุนมองต่างกัน กระทำการบางอย่างที่บริเวณนี้ ยิ่งเป็น แนวรับแนวต้านสำคัญในระดับ เดือน หรือ ปี แล้วยิ่งมีจำนวน การซื้อขายมาก

ซึ่งหากเกิดความชัดเจนหลังการต่อสู้กันของ นักลงทุน หรือนักเทรดที่เห็นต่างกันในแต่ละระดับราคา ก็จะยิ่งส่งให้ เกิด ปริมาณการซื้อขายตามมาอีกที่ เช่นการทดสอบแนวต้านแล้วไม่ผ่านก็มักจะมีแรงขายตามมาจำนวนมาก หรือหาก สามารถผ่านแนวต้านไปได้ ราคาก็มักจะวิ่งขึ้นไป ไกล และมีปริมาณซื้อตามเข้ามาในตลาดจำนวนมากเช่นกัน

แนวรับ แนวต้าน จิตวิทยาการเทรด Goo Invest Trade

แนวรับ หรือเรียกกันว่า Demand Zone คือ ระดับราคาที่มีคนต้องการซื้อมากที่บริเวณนั้น แต่ระดับราคานั้นจะอยู่บริเวณที่ต่ำกว่าราคาในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการซื้อเข้ามาอย่างมากเมื่อราคาลงมาที่บริเวณดังกล่าว

และหากมีการซื้อเข้ามาที่มากเพียงพอ ก็จะสามารถหยุด หรือรับราคาที่กำลังลงมาได้ นั่นหมายถึง มีแรงซื้อที่มากกว่า แรงขาย ยิ่งมีการทดสอบ หรือ พยายามจะลงให้ผ่าน แนวรับนี้มากเท่าไหร แต่ไม่สามารถลงไปได้ จะยิ่งตอกย้ำ ความมั่นใจให้กับ ฝั่งที่เป็น แรงซื้อ มากขึ้นเท่านั้น กลับกันมันกลับ ทำลายความมั่นใจ ให้กับกลุ่มที่เป็น ฝั่งขาย ด้วยเช่นกัน

แนวต้าน หรือ เรียกกันว่า Supply Zone คือ ระดับราคาที่มีคนต้องการขายมากที่บริเวณนั้น แต่ระดับราคานั้นจะอยู่บริเวณที่สูงกว่าราคาในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการขายเข้ามาอย่างมากเมื่อราคาขึ้นมาที่บริเวณดังกล่าว และหากมีการขายเข้ามาที่มากเพียงพอก็จะสามารถหยุด หรือต้านราคาที่กำลังขึ้นมาได้ นั่นหมายถึงมีแรงขายที่มากกว่าแรงซื้อ ยิ่งมีการทดสอบหรือ พยายามจะขึ้นให้ผ่านแนวต้านนี้มากเท่าไหร แต่ไม่สามารถขึ้นไปได้จะยิ่งตอกย้ำความมั่นใจให้กับฝั่งที่เป็นแรงขายมากขึ้นเท่านั้น กลับกันมันกลับทำลายความมั่นใจให้กับกลุ่มที่เป็นฝั่งซื้อด้วยเช่นกัน

จึงเป็นที่มาของวลีที่ติดหูกันว่า ” รับไม่ให้ลง ต้านไม่ให้ขึ้น “

ความสำคัญของ แนวรับ แนวต้าน

หากจะถามว่าราคาไหนถูก ราคาไหนแพง ก็คงไม่มีคำตอบที่ชัดเจน หากไม่มีเกณฑ์มาวัดความพอใจของผู้เทรด จึงเกิดการสร้างเกณฑ์ความพอใจขึ้นจากผู้เทรด ซึ่งก็เกิดจากมุมมองที่ต่างกันไปอีก สำหรับผู้เทรดแต่ละคนแต่หาจุดไหนที่มีความชัดเจน ก็มักจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์กันมากยิ่งมีความชัดเจน ของระดับราคา มากแค่ไหน ก็ยิ่งนำมาใช้เป็น เกณ์วัดความถูกแพง ของราคามากเท่านั้น การมองหา แนวรับแนวต้าน หรือระดับราคา ที่จะใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินใจ ในการสร้างระดับราคา

ซื้อขายนั้นขึ้นมาก็มีหลากหลายปัจจัย และก็จะมีกลุ่มนักเทรดที่ต่างกันไป เช่นกลุ่มที่เทรดด้วยระสั้นหรือกลุ่ม เดย์เทรด Daytrade,  กลุ่มที่เทรดระยะกลางหรือ สวิงเทรด์ Swingtrade หรือเป็นกลุ่มที่เป็นระยะยาว มุมมองต่อระดับราคา หรือ แนวรับแนวต้าน ของแต่ละกลุ่มก็จะต่างกันออกไป แต่ การวิเคราะห์ส่วนใหญ่นักเทรด เกือบทุกกลุ่มเทรด มักให้ความสำคัญต่อ กราฟที่เป็น Daily เป็นอย่างมาเพราะเป็นระยะการเทรดที่ไม่สั้น และไม่ยาวจนเกินไป เหมาะสำหรับการเก็งกำไร และ ลงทุน

จึงทำให้ระดับราคา แแนวรับแนวต้าน กราฟระดับ Daily นั้นมีความนิยม และมีปริมาณการซื้อขายมาก ในระดับ timeframe นี้ เพื่อหาต้นทุนที่ถูกนักลงทุนมัก เข้าซื้อที่บริเวณแนวรับ และขายที่บริเวณแนวต้าน

โอกาศในการทำกำไร และ การควบคุมความเสี่ยง ด้วย แนวรับ แนวต้าน

จากพฤติกรรมราคา โดยทั่วไปเมื่อมันเข้าทดสอบกับ แนวรับแนวต้าน หลังจากที่มีการ แลกเปลี่ยนการซื้อขาย ที่บริเวณทดสอบ หรือ หลังจากการจบ การต่อสู้กัน ของ ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย แล้วไม่ว่าฝ่ายใดจะชนะ ราคาก็มักจะวิ่งแรง และ ไกล ซึ่งเราสามารถ ควบคุมความเสี่ยงได้ด้วย การตัดขาดทุน ในระยะที่สั้นกว่า ระยะทำกำไร  ด้วยการตัดขาดทุน ที่บริเวณแนวรับ หรือ ต้าน นั้นเท่านั้นแต่อาจทำ กำไรได้ 2 – 3 เท่าตัวของระยะการตัดขาดทุนขาดทุน

 

แนวรับแนวต้าน ไม่ได้หมายถึงระดับ ราคาที่อยู่ในระนาบเดียวกันเท่านั้น มันอาจเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้าง เทรนไลน์ Trend Line ด้วยหลักการในการซื้อขาย เดียวกัน

 

Facebook
Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

Categories
Technical Analysis การลงทุน ธุรกิจ

trend line เทรนไลน์

TREND LINE เทรนไลน์

trend line เทรนไลน์ เป็นอีกหนึ่ง เทคนิคการวิเคราะห์กราฟ ที่ได้รับความนิยม และ เทรดเดอร์ ทุกคนต้องรู้จัก ไม่แพ้ กราฟแท่งเทียน เป็นเครื่องมือหนึ่ง ในการช่วยหาแนวโน้ม หรือ แนวรับ – แนวต้าน แต่ เทรนไลน์ ไม่มีสูตรคำนวนที่ตายตัวว่า การตีเทรนไลน์ของแต่ละคนก็อาจแตกต่างไป ไม่มีถูกผิด ขึ้นกับประสบการณ์และการนำไปประยุคต์ใช้  แต่ก็มีหลักการพื้นฐานการตีเดียวกัน

 

การใช้งาน TREND LINE

การสร้างเส้น แนวโน้ม หรือ Trend Line มีประโยชน์เพื่อหา แนวโน้มตลาด ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อนำมาประกอบในการวางแผนการเทรด โดยมีหลักการ ตีเส้นเทรนไลน์ หลักๆ ด้วยกัน 2 แบบคือ

1. แนวโน้มขาขึ้น Low to Higher Low

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม ขาขึ้น Low to Higher Low support แนวรับ Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดต่ำ Low ไป หาจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น Higher Low เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แนวโน้มขาขึ้น โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ใต้ราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวรับ support line สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Buy ( Long ) บริเวณที่ราคาลงมาทดสอบเส้นแนวโน้ม หรือใช้เป็นเกณฑ์ ในขายทำกำไร เมื่อราคาลงต่ำกว่าแนวเส้น Trend Line

2. แนวโน้มขาลง High to Lower High

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม ขาลง High to Lower High Resistant แนวต้าน Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดสูง High ไป หาจุดสูงที่ต่ำลง Lower High เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แนวโน้มขาลง โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ต่ำกว่าราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวต้าน resistance line สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Sell ( Short ) บริเวณที่ราคาขึ้นมาทดสอบเส้นแนวโน้ม หรือใช้เป็นเกณฑ์ ในขายทำกำไร เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น Trend Line

3. ไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway High to High , Low to Low

Trend Line เทรนไลน์ การตีเทรนไลน์ แนวโน้ม Sideway High to High Resistant แนวต้าน, Low to Low Support แนวรับ Goo Invest

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดสูง High ไป หาจุดสูง High ในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แบบไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่เหนือราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวต้าน resistance line 

 

การตีเส้น เทรนไลน์ จากจุดต่ำ Low ไป หาจุดต่ำ Low ในระดับเดียวกัน เกิดขึ้นในช่วงสภาวะตลาด แบบไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway โดยแนวเส้นเทรนไลน์ จะอยู่ใต้ราคา และบริเส้นเทรนไลน์ จะถือว่าเป็นเส้น แนวรับ Support line 

 

สำหรับใครที่เทรดด้วย Trend Line สามารถใช้เส้นเทรนไลน์เป็นตัวกำหนดกลยุทธ์เช่นใช้เข้า ออเดอร์ Sell ( Short ) บริเวณที่ราคาขึ้นมาทดสอบเส้น แนวต้าน Resistant หรือใช้เป็นเกณฑ์ ตัดขาดทุน เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น แนวต้าน Resistant ในทางกลับกันสามารถใช้เข้า ออเดอร์ Buy ( Long ) บริเวณที่ราคาลงมาทดสอบเส้น แนวรับ Support หรือใช้เป็นเกณฑ์ ตัดขาดทุน เมื่อราคาขึ้นสูงกว่าแนวเส้น แนวรับ support

ความชันของ Trend Line บอกความแข็งแรงของแนวโน้ม

หลายคนอาจได้ศึกษาเรื่อง Trend Line เทรนไลน์ มาอยู่บ้างแต่ทราบหรือไม่ว่า ความชันของเส้นแนวโน้ม มีผลของความแข็งแรงของเส้นเทรนไลน์ และสามารถบอกถึงแนวโน้มตลาดได้อีกด้วย โดยจะแบ่งได้หลักๆ 3 แนวโน้ม

Trend Line เทรนไลน์ ความชัน ความแข็งแรงของแนวโน้ม Goo Invest

1. แนวโน้มขาขึ้น

ความชันของเส้น Trend Line ขาขึ้น 1 – 45 องศา วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 1 – 5 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้นแต่ยังไม่แข็งแรง มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Up
  • ความชัน 6 – 15  องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้น ที่มีความแข็งแรงและเส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะใช้งานได้ดี
  • ความชัน 16 – 45 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้น ที่มีปริมาณซื้อขายปริมาณมากกว่าปรกติ เส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นราคาอาจมีการทดสอบเส้นราคาเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นก่อนที่จุดตัดเส้นแนวโน้มลง เหมาะกับคนที่เล่นใน ระยะสั้น

2. แนวโน้มขาลง

ความชันของเส้น Trend Line เทรนไลน์ ขาลง 315 – 359 วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาลงยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 355 – 359 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลงแต่ยังไม่แข็งแรง มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Down
  • ความชัน 345 – 354 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลง ที่มีความแข็งแรงและเส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะใช้งานได้ดี
  • ความชัน 315 – 344 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลง ที่มีปริมาณซื้อขายปริมาณมากกว่าปรกติ เส้นแนวโน้มในช่วงความชันนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นราคาอาจมีการทดสอบเส้นราคาเพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นก่อนที่จุดตัดเส้นแนวโน้มขึ้น เหมาะกับคนที่เล่นใน ระยะสั้น

3. ตลาดไม่มีแนวโน้ม Sideway

ความชันของเส้น Trend Line แบบไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway 356 – 4 องศา วัดจาก จุดที่หนึ่ง ไปยังจุดที่สอง ในช่วงแนวโน้มขาลงยังแบ่งย่อยระดับความชัน ลงได้อีก 3 ระยะ คือ 

  • ความชัน 0 องศา ถือเป็นตลาดไม่มีแนวโน้ม หรือ Sideway 
  • ความชัน 1 – 5 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็งแรงถือว่ายังไม่มีแนวโน้มชัดเจน มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Up
  • ความชัน 355 – 359 องศา ถือเป็นแนวโน้มตลาดขาลงเล็กน้อย แต่ยังไม่แข็งแรง ถือว่ายังไม่มีแนวโน้มชัดเจน มักเรียกแนวโน้มระดับความชันนี้ว่า Sideway Down
Share Facebook
Share Twitter

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ

เปิดบัญชีซื้อขายทองคำ