Bollinger Bands
Bollinger Bands เป็น Indicator หนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับในวงการ การเทรดเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น หุ้น Futures ทองคำ น้ำมัน หรือ แม้แต่ Forex เนื่องจากมีประโยชน์หลากหลายและสามารถพลิกแพลงเทคนิคให้แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย John Bollinger ในช่วงปี 1980s เป็นหนึ่งในนักวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีชื่อเสียงของโลก
จุดประสงค์หลักของมันมีแนวคิดหลักคือการวัด “ความผันผวน” ของตลาด ซึ่งนิยมจัดให้เป็นเครื่องมือ “Technical Analysis” ในกลุ่ม Trend หรือใช้เพื่อเทรดในตลาดที่มีแนวโน้ม แต่ในขณะเดียวกันมันยังสามารถหาก Overbought และ Oversold ได้อีกด้วย โดยการสร้าง “Band” หรือกรอบราคาขึ้นมาอีก 2 เส้น ซึ่งช่วยหาจุดเข้าออกให้นักเทรดไปด้วยในเวลาเดียวกัน โดยส่วนประกอบของ Bolinger Band จะประกอบไปด้วยเส้นทั้งหมด 3 เส้นคือ
- เส้น Moving Average period20 เป็นค่ากลาง
- เส้น Upper Band
- เส้น Lower Band
สูตรการคำนวณ
สำหรับการคำนวณ Bollinger Band นั้น สามารถสร้างได้ด้วยสูตรง่าย ๆ แบบ Excel หรือการคำนวณด้วยโปรแกรม MT4 โดยเราต้องเห็นภาพของหลักการก่อน ดังนี้
BOLU=MA(TP,n)+m∗σ[TP,n]
BOLD=MA(TP,n)−m∗σ[TP,n]
BOLU คือสูตรของ Upper Bollinger Band
BOLD คือสูตรของ Lower Bollinger Band
MA=Moving average เส้นค่าเฉลี่ย
TP (typical price) ค่าราคาวันปัจุบัน =(High+Low+Close)÷3
n = ค่า period ของ MA (ปรกติ Bollinger Band จะใช้ค่า 20)
m = standard deviations ( ค่าที่ใช้ทั่วไปคือ 2 )
σ[TP,n]=Standard Deviation ค่าที่สร้างขึ้นมาเป็นกรอบระยะห่าง
การใช้งาน Bollinger bands
1. ดูแนวโน้มตลาด
Bollinger Bands แม้จะนิยมใช้ในการดูจังหวะ Overbought หรือ Oversold แต่ค่าพื้นฐานของ Bollinger Bands นั้นถูกสร้างขึ้นมาจาก MA หรือ Moving Average ซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้งานกันอย่างมากในการหาแนวโน้ม และ เส้น MA ก็ได้ถูกใส่ลองมาในเครื่องมือ Bollinger Band อีกด้วยนั่นคือเส้นตรงกลางของ Bolling Band
กลยุทธ์
สามารถใช้กลยุทธ์พื้นฐานการหาแนวโน้มของ MA ในการเข้าออเดอร์ได้เลยเมื่อเข้าออเดอร์ได้แล้วสามารถปิดออเดอร์ทำกำไรบริเวณ Upper Band หรือ Lower Band ได้เช่น
- แนวโน้มขาขึ้นให้เข้า Buy หรือ Long ที่บริเวณ MA และปิดออเดอร์ที่ Upper Band
- แนวโน้มขาลงให้เข้า Sell หรือ Short ที่บริเวณ MA และปิดออเดอร์ที่ lower Band
2. Overbought Oversold
Overbought บอกถึงสภาวะการซื้อมากเกินไป และ Oversold บอกถึงสภาวะการขายมากเกินไป หากราคาขึ้นไปบริเวณ Upper Band จะเป็นการแสดงถึงสภาวะการซื้อที่มากเกินไปมีโอกาศที่ราคาจะมีการพักตัวในไม่ช้า และ หากราคาขึ้นไปบริเวณ Lower Band จะเป็นการแสดงถึงสภาวะการขายที่มากเกินไปมีโอกาศที่ราคาจะมีการพักตัวในไม่ช้า
- เข้าออเดอร์ Sell หรือ Short บริเวณ Upper Band อาจใช้สัญญาณจาก กราฟแท่งเทียน เป็นตัวช่วยยืนยันจังหวะ การเกิดสัญญาณกลับตัวที่ปิดสูงกว่า Upper Band จะเป็นสัญญาณที่ดีกว่า การที่ราคาปิดต่ำกว่า Upper Band
- เข้าออเดอร์ Buy หรือ Long บริเวณ Lower Band อาจใช้สัญญาณจาก กราฟแท่งเทียน เป็นตัวช่วยยืนยันจังหวะ การเกิดสัญญาณกลับตัวที่ปิดตำกว่า Lower Band จะเป็นสัญญาณที่ดีกว่า การที่ราคาปิดสูงกว่า Lower Band
3. ใช้เป็น แนวรับ แนวต้าน
เมื่อตลาดอยู่ในช่วงแนวโน้มที่เป็น Sideway สามารถใช้ Lower Band และ Upper Band เป็นแนวรับและแนวต้านได้ ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าในช่วงที่ Sideway เส้น Upper Band และ Lower Band จะบีบเข้าหากันและเคลื่อนไหวไปในแนวระนาบหรือยังไม่มีการขึ้นลงที่ขัดเจน โดยให้เส้น Upper Band = ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน และ Lower Band = ทำหน้าที่เป็นแนวรับ.
กลยุทธ์
- เข้าออเดอร์บริเวณที่เป็นแนวรับแนวต้านหรือบริเวณเส้น Upper Band หรือ Lower Band อาจใช้สัญญาณจาก กราฟแท่งเทียน เป็นตัวช่วยยืนยันจังหวะ การเข้าออเดอร์โดยเข้า Sell หรือ Short บริเวณ แนวต้าน และ เข้า Buy หรือ Long บริเวณ แนวรับ
- Breakeout หรือการที่ราคาวิ่งหลุดแนวต้านขึ้นไป หรือ ราคาวิ่งหลุดแนวรับลงมาเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่มักใช้กับบริเวณ แนวรับ แนวต้าน เข้าออเดอร์โดยเข้า Sell หรือ Short เมื่อราคาวิ่งหลุดแนวรับลงมาเป็นการ Follow trend ขาลง หรือ เข้า buy หรือ Long เมื่อราคาวิ่งหลุดแนวต้านขึ้นมาเป็นการ Follow trend ขาขึ้น แล้วจึงใช้ เส้น MA หรือ Trend Line ช่วยหาแนวโน้ม
4. วัดความผันผวนของตลาด
Bollinger Bands สามารถบอกเราให้ทราบถึงความผันผวนและปริมาณการซื้อขายของตลาดว่า สถานะของตลาดเป็นยังไง มีการซื้อที่มากน้อยเพียงใดโดยจะแสดงออกโดยระยะห่างของเส้น Upper Band และ Lower Band หรืออยู่ในช่วงที่มีปริมาณการซื้อขายน้อย โดยให้ประเมิณจากระยะหากของเส้น Upper Band และ Lower Band ถ้าหากเส้นมีลักษณะ บีบ ชิดเข้าหากัน เป็นช่วงแคบ นั้นหมายถึงตลาดมีปริมาณซื้อขายน้อย แต่ถ้าเส้นแยกออกห่างออกจากกัน แล้วอยู่ห่างๆ กันยิ่งมากเมื่อไหร่ นั้นหมายถึง ยิ่งมีปริมาณซื้อขายที่มากขึ้นเท่านั้น
กลยุทธ์
- หากอยู่ในช่วงที่ Upper Band และ Lower Band บีบตัวเข้าหากกันหรืออยู่ในช่วงที่แคบแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ที่เหมือนกับ Sideway โดยทำกำไรในระยะสั้น
- หากอยู่ในช่วงที่ Upper Band และ Lower Band ออกห่างจากกัน แนะนำให้ใช้กลยุทธ์ ที่เล่นตามแนวโน้มจะปลอดภัยกว่า หรือให้เข้าตอนตลาดพักตัวที่เส้น MA ซึ่งหมายถึงเส้นกลาง ของ Bollinger Band ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานในการเล่นกับแนวโน้มตามหลักการ MA